
โดย นพ.จุมภฎ พรมสีดา * 1. ความผิดปกติทางการพูด 2. ความผิดปกติทางอารมณ์และความรู้สึก 3. ความผิดปกติทางความคิด 4. ความผิดปกติทางการได้ยิน 5. ความผิดปกติทางการนอนหลับและการรับประทานอาหาร 6. ความผิดปกติในด้านการดูแลสุขอนามัยส่วนตัว 7. ความผิดปกติทางพฤติกรรมที่แสดงออก ใครที่ควรจะได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยทางจิตเวช อาจประเมินได้จากประวัติและอาการแสดงของผู้ป่วย โดยพิจารณาว่า 1. มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมใช่หรือไม่ 2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปก่อให้เกิดความทุกข์หรือรบกวนทั้งต่อตนเอง คนในครอบครัว หรือชุมชนใช่หรือไม่ 3. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงคือ สิ่งที่ผิดแผกไปจากคนทั่วๆ ไป ในสังคมนั้นเขาทำกันใช่หรือไม่ถ้าใช่ข้อใดข้อหนึ่งในทั้ง 3 ข้อ ก็น่าจะมีความผิดปกติทางจิตซึ่งต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียดอีกครั้ง สาเหตุ พฤติกรรมผิดปกติหรือโรคจิต เกิดได้จาก 1. ความผิดปกติของสมอง เพราะ - ได้รับสารพิษต่างๆ เช่น สุรา ยากระตุ้น ยาบ้า กัญชา กระท่อม และ/หรือยานอนหลับ - ได้รับเชื้อโรค เช่น เชื้อมาลาเรียขึ้นสมอง ไข้เยื่อสมองอักเสบ เชื้อซิฟิลิสขึ้นสมองหรือ พยาธิตัวตืด หรือ จากพิษไข้ เช่น ไทฟอยด์ - อันตรายที่ศีรษะ เช่น ถูกตีศีรษะ รถคว่ำ หรือ อุบัติเหตุต่าง ๆ ทางศีรษะ - เนื้อสมองเปลี่ยนแปลง เช่น หลอดเลือดในสมองแข็ง เนื้องอกในสมองหรือจากวัยชรา - กรรมพันธุ์ ซึ่งพบได้น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับสาเหตุอื่นๆ 2. ความผิดปกติของจิตใจ เพราะ - ได้รับความผิดหวัง ความเสียใจ ความกดดันทางจิตใจจากสิ่งแวดล้อม - ขาดความรักความอบอุ่นมาตั้งแต่วัยเด็ก ทำให้เป็นคนคิดมาก มีปมด้อย ขาด ประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองมีบุคลิกภาพที่ผิดปกติ เช่น เก็บตัว แยกตัว ไม่สุงสิงกับใคร ชอบอยู่คนเดียวและหวาดระแวง 3. สภาพสังคม เช่น ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกบีบคั้นทางสังคม อยู่ในที่สังคมแออัด มีฐานะยากจน เป็นต้น 1. การใช้ยา - เป็นรูปแบบการรักษาที่ใช้มากที่สุด - มีทั้งเป็นแบบเม็ด, น้ำ และแบบใช้ฉีด - ต้องทานติดต่อเป็นระยะเวลานานพอสมควรตามที่แพทย์ผู้รักษาแนะนำ ผู้ป่วยทางจิตเวชส่วนหนึ่งทานยาไม่ครบตามกำหนดอาจจะเกิดจาก 1. อาการดีขึ้นเลยคิดว่าตัวเองหายแล้ว 2. ผลข้างเคียงจากยา 3. อาการเจ็บป่วยไม่ได้ดีอย่างรวดเร็วทันใจ ข้อแนะนำที่ควรให้กับผู้ป่วย 1. ใช้ยาจิตเวชไม่ทำให้เกิดการติดยา 2. ยาจิตเวชไม่ใช่ยานอนหลับแต่จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นทำให้ไม่มีความคิดที่ผิดปกติ 3. ยาจิตเวชอาจมีผลข้างเคียง เช่น ปากแห้ง, ง่วงนอน, กล้ามเนื้อเกร็ง ซึ่งมียาช่วยแก้ไขหรือบรรเทาอาการข้างเคียงเหล่านี้ 4. ต้องรับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำถ้าหยุดยาเร็วอาจจะทำให้อาการกลับมาเป็นใหม่ได้ บางรายต้องทานยาตลอดชีวิต 5. การให้การรักษาแต่เนิ่นๆ จะทำให้ผลการรักษาได้ผลดี 2.การรักษาด้วยไฟฟ้า ซึ่งทำในผู้ป่วยบางรายโดยจิตแพทย์จะเป็นผู้พิจารณา 3.การให้คำปรึกษา 4.การฟื้นฟูสมรรถภาพ ความบกพร่อง (disability) คือการที่คนคนหนึ่งไม่สามารถแสดงบทบาทที่เขาควรจะเป็นได้ หรือสิ่งใดก็ตามที่สังคมคาดหวังว่าคนคนหนึ่งจะสามารถทำได้แต่เขาไม่สามารถทำได้ 1. Personal disability - มีปัญหาหรือมีความลำบากในการดูแลตัวเอง - ไม่สามารถทำกิจกรรมใดๆ ที่เป็นประโยชน์ได้ - กระสับกระส่าย เคลื่อนไหวหรือทำกิจวัตรเฉื่อยช้า 2. ความบกพร่องในบทบาทของสมาชิกในครอบครัว (disability in the family role) - ไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมใดๆ ร่วมกับสมาชิกคนอื่นในครอบครัว - ไม่ทำหน้าที่ของคู่สมรส - ไม่ทำหน้าที่ของพ่อหรือแม่ 3. ความบกพร่องทางสังคม (social disability) - แยกตัวจากคนอื่น - ไม่สนใจในด้านใดๆ เหมือนคนอื่นในสังคม มีความลำบากในการเข้าสังคม 4. ความบกพร่องในด้านหน้าที่การงาน (occupational disability) - ไม่สนใจหน้าที่การงาน - ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง 5. ความบกพร่องทางด้านอารมณ์ (emotional disability) - สีหน้าเรียบเฉยไม่ยินดียินร้าย - การแสดงออกทางอารมณ์ไม่เหมาะสม ข้อแนะนำ 1. ถามคำถามที่เกี่ยวกับความบกพร่องในด้านต่างๆ ทีละด้าน ช้าๆ และชัดเจน 2. ต้องแน่ใจว่าผู้ตอบคำถามเกี่ยวกับตัวผู้ป่วยเป็นผู้ที่ใกล้ชิดและรู้อาการของผู้ป่วยดี 3. ต้องถามเรียงไปทีละคำถาม ไม่มีการข้ามคำถามใดคำถามหนึ่ง หรือตอบใช่หรือไม่ใช่โดยคิดเอาเอง เปรียบเทียบพฤติกรรมของผู้ป่วยระหว่างก่อนป่วยกับหลังป่วย 4. ถ้าผู้ป่วยมีอาการเจ็บป่วยมานานจนไม่สามารถจำพฤติกรรมก่อนป่วยและหลังป่วยได้ให้เปรียบเทียบกับพฤติกรรมของสมาชิกคนอื่นในครอบครัว 5. ประเมินความรุนแรงของความบกพร่องทางความสามารถโดยดูจากความถี่ บ่อยของพฤติกรรม เช่น เป็นครั้งคราวถือว่าเล็กน้อย (mild) ค่อนข้างบ่อยถือว่าปานกลาง (moderate) และเป็นเกือบตลอดเวลาถือว่า รุนแรง (Severe) 1. การบกพร่องด้านบุคลิกภาพ 1.1 ถามเรื่องการรักษาความสะอาดของตัวเอง 1.2 ถามเรื่องการทำหน้าที่หรือการใช้เวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ 1.3 ทำงานได้รวดเร็วเหมือนเดิมหรือช้าลง หรือไม่รอบคอบเหมือนเคย 2. ความบกพร่องด้านบทบาทในครอบครัว 2.1 มีกิจกรรมร่วมกับสมาชิกอื่นในครอบครัวหรือไม่ 2.2 แสดงความรักหรือความใกล้ชิดกับคู่สมรสเหมือนกับก่อนป่วยหรือไม่ 2.3 แสดงพฤติกรรมต่อลูกหรือเด็กในครอบครัวเหมือนเดิมหรือไม่ 3. การบกพร่องทางสังคม 3.1 ถามถึงความสัมพันธ์กับเพื่อน, เพื่อนบ้าน หรือญาติพี่น้อง 3.2 แสดงท่าทีที่ไม่เป็นมิตรหรือไม่ 3.3 แสดงความสนใจต่อความเป็นไปของสิ่งแวดล้อมรอบตัวหรือข่าวคราวต่าง ๆ หรือไม่ 4.ความบกพร่องทางการประกอบอาชีพ 4.1 ผู้ป่วยแสดงความสนใจจะกลับไปเรียนไปทำงานเหมือนเดิมหรือไม่ 4.2 ประสิทธิภาพในการเรียน ในการทำงาน เหมือนเดิมหรือไม่ 5.. ความบกพร่องในการแสดงออกทางอารมณ์ 5.1 การแสดงออกทางอารมณ์ในช่วงป่วยเป็นอย่างไร 5.2 การแสดงออกทางอารมณ์เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมหรือสถานการณ์ในขณะนั้นหรือไม่ 1. กลัว อาจเป็นเพราะ - อันตรายจากการก้าวร้าว หรือกลัวผู้ป่วยทำลายข้าวของ - ผู้ป่วยจิตเวชมักมีพฤติกรรมที่ทำนายไม่ได้ - เพราะเชื่อว่าผู้ป่วยมีวิญญาณร้ายสิงร่าง - รู้สึกแปลกแยก, ไม่ควรใส่ใจ 2.โกรธ อาจเป็นเพราะ - พฤติกรรมของผู้ป่วยรบกวนหรือสร้างความรำคาญ - ผู้ป่วยไม่มีเหตุผลหรือควบคุมยาก - ไม่เข้าใจว่าทำไมผู้ป่วยจึงมีพฤติกรรมแบบนั้น - ไม่ใช่ความรับผิดชอบของตัวเองแต่ถูกผู้ป่วยมารบกวน 3. คับข้องใจ, สงสาร - เพราะเห็นผู้ป่วยทุกข์ทรมาน - เพราะไม่รู้ว่าจะช่วยอย่างไร 4. ลังเล, หลีกเลี่ยง และรู้สึกแปลกแยก - เพราะผู้ป่วยบางคนสกปรก - เพราะกลัวจะถูกทำร้าย 5. น่าขบขัน, น่าเยาะเย้ย - เพราะผู้ป่วยทำท่าทางแปลกๆ - เพราะผู้ป่วยพูดไม่รู้เรื่อง 6. สังคมทอดทิ้ง, ถูกตีตราทางสังคม - แยกออกจากครอบครัว - แยกออกจากสังคม 7. ละอายใจ - สมาชิกในครอบครัวอาจจะรู้สึกละอายใจ ที่ต้องมารับผิดชอบกับการกระทำของผู้ป่วย - สมาชิกในครอบครัวอาจคิดว่าเป็นการลงถูกโทษจากการทำผิดอะไรบางอย่าง ปฏิกิริยาข้างต้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตามปกติ หน้าที่ของบุคลากรทางสาธารณสุขคือให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและผู้ป่วยจิตเวชแก่ชุมชนให้เข้าใจซึ่งอาจจะเปลี่ยนทัศนคติที่ไม่ดีได้ 1. บอกตัวเองว่าเขาคือคนป่วยที่ได้รับความทุกข์ทรมาน ซึ่งต้องได้รับการรักษา 2. ถามตัวเองว่าเป็นการเจ็บป่วยทางจิตเวชชนิดใด 3. ถามตัวเองว่า 3.1 ผู้ป่วยและญาติต้องการการช่วยเหลือเบื้องต้นหรือไม่ 3.2 เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย,เสี่ยงต่อการแสดงพฤติกรรมที่ควบคุมไม่ได้หรือแสดงท่าทางก้าวร้าวหรือไม่ ถ้าใช่ควรพิจารณาส่งต่อให้แพทย์รักษา 3.3 ถ้าอาการไม่รุนแรงไม่รบกวนมากอาจให้การรักษาหรือส่งต่อแบบไม่เร่งด่วน 4. พูดคุยกับผู้ป่วยอย่างสงบและอ่อนโยน แสดงท่าทีเป็นมิตรเพราะท่าทีเหล่านี้ผู้ป่วยจะเรียนรู้ว่าท่านเป็นมิตรและจะสามารถช่วยในการฟื้นฟูสภาพในอนาคต 5. ให้ผู้ป่วยพูดและแสดงการตั้งใจฟัง แม้ว่าจะฟังดูเป็นเรื่องไร้สาระ 6. ให้ความมั่นใจว่าท่านไม่ได้มีเจตนาร้าย และเข้าใจผู้ป่วย พยายามอธิบายให้ผู้ป่วย ถึงประโยชน์ของยาผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องใช้ 7. พยายามเข้าใจผู้ป่วยและญาติในมุมมองของเขาไม่ใช่ตัวท่านเอง 8. ถ้าผู้ป่วยและญาติต้องการรักษาทางไสยศาสตร์หรือตามความเชื่อเก่าๆ ไม่ควรคัดค้าน หากการรักษานั้นไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่ควรโน้มน้าวให้มารักษาทางแผนปัจจุบันร่วมด้วย 9. เคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 10. ให้เวลาสำหรับผู้ป่วยและญาติในการอธิบายถึงความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นพร้อมบอกแนวทางในการรักษา โดยระลึกไว้เสมอว่าการสร้างสัมพันธภาพที่ดีจะทำให้ท่านได้รับความร่วมมือในการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยในอนาคต 1. ไม่แสดงอาการตื่นตระหนก ท่าทีที่มั่นคงเป็นสิ่งสำคัญ 2.ไม่ควรโกรธผู้ป่วยเพราะ ในช่วงเวลานั้นผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมตนเองได้เหมือนปกติ 3. อย่าหัวเราะเมื่อผู้ป่วยแสดงพฤติกรรมแปลกประหลาด 4. ให้ฟังที่ผู้ป่วยพูด อย่ามัวแต่ซักถามอาการ 5. อย่าโต้แย้งกับความเชื่อที่ผิด ๆ ให้ฟังอย่างสงบ และให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยว่าท่านจะช่วยทำให้ปัญหาต่าง ๆ ดีขึ้น 6. อย่าพยายามแสดงท่าทีจะต่อสู้หรือคุกคามผู้ป่วย 7. ไม่ควรเปลี่ยนทัศนคติ ความเชื่อด้านไสยศาสตร์ของผู้ป่วยและญาติ และ ไม่ควรขัดขวางพิธีการใด ๆ หากไม่ทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตราย 8. อย่าเยาะเย้ยถากถางผู้ป่วย 9. อย่ารับปากกับญาติหรือผู้ป่วยว่าการรักษาจะทำให้หายขาด แต่ให้บอกว่าการรักษาจะทำให้อาการดีขึ้น 1. จำไว้เสมอว่าอาการของผู้ป่วยจะดีขึ้นช้า ๆ อย่าคาดหวังผลการรักษาอย่างรวดเร็วทันตา 2. การตอบสนองต่อการรักษาในผู้ป่วยแต่ละรายไม่เหมือนกันบางคนตอบสนองต่อการรักษาช้า บางคนตอบสนองต่อการรักษาเร็ว 3. ตั้งเป้าหมายในการรักษาและการฟื้นฟูตามสภาพความเป็นจริง เลือกงานหรือกิจกรรมที่ง่าย และผู้ป่วยสนใจ และเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน เพื่อผู้ป่วย จะปฏิบัติตามได้ง่าย 4. ช่วงแรกอาจต้องช่วยกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดแล้วค่อย ๆ ให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมหรืองานที่ได้รับมอบหมายด้วยตัวเอง 5. ค่อย ๆ เพิ่มเป้าหมายขึ้นทีละน้อยจนถึงระดับที่เหมาะสมกับความสามารถของผู้ป่วย 6. ชมเชยเมื่อผู้ป่วยทำได้ตามที่คาดหวัง 7. ให้สมาชิกในครอบครัวมีส่วนช่วยในการฟื้นฟูสมรรถภาพ การดูแลผู้ป่วยด้านจิตเวช จะต้องทำสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ โดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยบกพร่องด้านใด หรือบกพร่องรุนแรงเพียงใด 1. เยี่ยมผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ 2. ให้เวลากับสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วย เพื่อพูดคุยอาการของผู้ป่วยและให้กำลังใจ 3. เตือนให้ไปพบแพทย์เพื่อรับยาอย่างสม่ำเสมอ 4. เตือนให้รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง 5. อย่าให้ใครมาเยาะเย้ยหรือรบกวนผู้ป่วย เมื่อมีผู้ป่วยจิตเวชในครอบครัว สมาชิกแต่ละคนหรือแต่ละครอบครัวจะมีปฏิกิริยาต่ออาการของผู้ป่วยแตกต่างกัน ดังนี้ 1. ปฏิเสธ บางครอบครัวอาจทำเหมือนไม่รับรู้ว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติแม้ได้รับคำแนะนำจากคนรอบข้างหรือเจ้าหน้าที่ โดยอาจจะคิดว่า - ผู้ป่วยอาจเป็นแค่อาการเครียดธรรมดา - ถ้าให้ผู้ป่วยอยู่เงียบ ๆ คนเดียวอาจจะทำให้ดีขึ้น - การแต่งงาน หรือการหางานให้ทำอาจจะทำให้เขาดีขึ้น - พาไปพึ่งไสยศาสตร์หรือทำพิธีตามวัดก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยหายได้ - การเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมอาจจะช่วยให้ผู้ป่วยหายได้ 2. กลัว หลังจากผ่านระยะปฏิเสธมาแล้ว และสมาชิกในครอบครัวรับรู้ว่ามีผู้ป่วยจิตเวชในครอบครัว บางคนจะรู้สึกผิดว่าเป็นเพราะบาปกรรมที่ทำไว้ในอดีต รู้สึกอาย แสวงหาการรักษา บางคนไม่กล้าเข้าใกล้เพราะกลัวจะถูกทำร้าย 3. โกรธ 4. แปลกแยก ปฏิกิริยาของสมาชิกในครอบครัวเมื่อรู้ว่าผู้ป่วยจิตเวช มีความบกพร่องด้านสมรรถภาพ 1. ปฏิเสธ 2. โกรธ,สิ้นหวัง 3. ปกป้องมากจนเกินไป 1. รับฟังและแสดงความจริงใจ บางครั้งสมาชิกในครอบครัว อาจจะแสดงอาการเศร้า , โกรธ , ไม่เป็นมิตร ซึ่งต้องอดทนและรับฟังและพึงระลึกไว้เสมอว่า ครอบครัวนี้อยู่ในช่วงการเสียใจและพวกเขาต้องอยู่กับปัญหาที่หนักหน่วง ทุก ๆ วัน 2. พยายามประเมินว่าสมาชิกในครอบครัวรู้สึกอย่างไร 3. หาปัญหาหลักของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยคืออะไร 4. หาจุดแข็งและส่วนดีที่มีอยู่ในครอบครัว 1. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในชุมชน เรื่องการฝึกผู้ที่มี พฤติกรรมผิดปกติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 2. H. Sel,V. Nagaswami. Promoting independence of people disabilities due to mental disorders. Geneva: WHO. 1997.
|
*นายแพทย์ 8 ผู้อำนวนการศูนย์สุขภาพจิตที่ 6ศูนย์สุขภาพจิตที่ 6 |