• phone

    Call Center

    091-3853234

  • email

    E-mail

    socials

ความเป็นมา วัตถุประสงค์และใบประกาศ

ประวัติความเป็นมา

ได้ก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2550 ที่อาคารสำนักงานเพื่อคนพิการอำเภอบางระกำ  โดยได้รับความกรุณาจากคณะกรรมการชมรมสายสัมพันธ์และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่ มาดำเนินการสนับสนุนในการจัดตั้ง  แรกตั้งใช้ชื่อว่า "ชมรมรวมจิตมิตรบางระกำ" ต่อมาการทำงานได้ขยายวงกว้างขึ้น ครอบคลุมทั้งจังหวัด จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อ เป็น ชมรมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตจังหวัดพิษณุโลก จนปัจจุบัน โดยอาคารสำนักงานเพื่อคนพิการอำเภอบางระกำ มีคุณเพชราพร  พงศะบุตร และโรงเรียมเชียงใหม่ภูคำ เป็นผู้บริจาคและสร้างให้

วัตถุประสงค์

1.เพื่อเป็นศูนย์รวมให้ญาติและสมาชิกได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโดยให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการวางแผนและกิจกรรมที่เหมาะสม

2.เพื่อสร้างความรู้และทักษะในการฟื้นฟูดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

3.เพื่อให้เกิดเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ในเขตจังหวัดพิษณุโลก                                     

4.ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายและพันธมิตรเพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพทั้งแกนนำ อสม. ผู้ปกครอง ผู้ดูแลและผู้บกพร่องทางจิต  

5.ส่งเสริมให้สมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณประโยชน์ ศาสนาและวัฒนธรรม

 

การดำเนินกิจกรรม

1.มีการประชุมตามความจำเป็น/เร่งด่วน                                 

2.ให้คำปรึกษาแนะนำด้านสุขภาพจิตและจิตเวช                    

3.เยี่ยมบ้านสมาชิกชมรมฯ                                                          

4.ติดตามค้นหา ช่วยเหลือ ผู้บกพร่องทางจิตที่ถูกทอดทิ้ง ขาดยา มีฐานะยากจน                                                                                 

5.เข้าร่วมอบรมความรู้เกี่ยวกับโรคจิตเวช และการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน                                                                                                    

6.ทัศนศึกษาดูงาน ฝึกอาชีพให้ผู้ป่วยและผู้ดูแล                                                   

7.ดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้พิการ เพื่อให้ผู้ป่วยและผู้พิการได้เข้าถึงสิทธิต่างๆตามกฎหมาย                                                                    

8.ช่วยติดต่อทำบัตรกรณีทำบัตรใหม่ บัตรสูญหายหรือบัตรหมดอายุ                                                         

9.รณรงค์ให้ครอบครัวและสังคมยอมรับศักยภาพของผู้ป่วยจิตเวช ลดเจตคติที่มีต่อผู้ป่วยและคนพิการทางจิต