• phone

    Call Center

    091-3853234

  • email

    E-mail

    socials

ยาฉีดสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตรุนแรงก้าวร้าววุ่นวาย

ยาฉีดสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตรุนแรงก้าวร้าววุ่นวาย

GP's Psychiatric Survival Guide
ยาฉีดสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตรุนแรงก้าวร้าววุ่นวาย

เมื่อเจอเคสที่มีความก้าวร้าว อย่างทีเคยเกริ่นไว้นะครับ
เป้าหมายแรกในการดูแล คือ การป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรง โดยการตรวจค้นอาวุธ รวมทั้งมียาม/การ์ด/ผู้ช่วย/ญาติ นั่งประกบเพื่อความปลอดภัยของคุณหมอ/พยาบาลเอง หากผู้ป่วยมีพฤติกรรมวุ่นวายมาก ไม่สามารถอยู่นิ่งได้ ก่อนที่จะให้การตรวจรักษา ทางทีมควรพิจารณาการผูกมัด (Restraints) โดยจัดทีมบุคลากรเพื่อเข้ายึดตรึง กับเก้าอี้/เตียง เพื่อจำกัดพฤติกรรม (ถ้ามีห้องสังเกตอาการจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้มากยิ่งขึ้น)

**หากยังมีความก้าวร้าวอยู่ สิ่งที่ต้องพิจาณา ก็คือ การให้ยาลดความก้าวร้าวแบบฉีด ซึ่งที่ใช้ในบริบทของรพช.นั้น หลักๆ จะมียาอยู่ 3 ชนิด ตามสไลด์ที่นำมาฝากกันครับ
*Benzodiazepine : Valium
*Antipsychotics : Haloperidol /CPZ

*ประเด็นที่เจอบ่อยๆในการดูแล คือ 
* เมื่อฉีดเข็มแรกแล้วอาการยังไม่สงบ แพทย์ไม่กล้าให้ซ้ำ
* ระยะเวลาระหว่างเข็มแรกกับเข็มที่สอง ไม่เหมาะสม (ถี่ไป/ห่างไป)
* ปริมาณรวมของยาที่ฉีดไม่เหมาะสม (น้อยไป/มากไป)
* ให้ยาไม่ถูก Route เช่น ฉีดHaldol i.v./ ฉีด Valium i.m. (ที่ถูก คือ Haldol ฉีด i.m. / ฉีด Valium i.v.)

.
.
.
.
By...คลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา