• phone

    Call Center

    091-3853234

  • email

    E-mail

    socials

การดูแลผู้ป่วย Psychosis ที่มีอาการกำเริบ

GP's Psychiatric Survival 
การดูแลผู้ป่วย Psychosis ที่มีอาการกำเริบ

วันก่อนได้รับโทรศัพท์consultจากน้องในรพช.แห่งหนึ่ง เป็นเคสSchizophreniaเดิมที่ได้รับการวินิจฉัยจากรพ.จิตเวชฯแล้วหลายปี แต่พักหลังๆมีประวัติไม่กินยาจิตเวช ครั้งนี้มาด้วยอาการไม่ยอมนอน หงุดหงิดมากขึ้น เริ่มหวาดระแวงคนรอบข้างจะมาทำร้าย ได้ยินเสียงแว่วเหมือนคนซุบซิบนินทา จะเดินออกจากบ้านไปเรื่อยๆ แต่ยังไม่ถึงขั้นทำร้ายผู้คนหรือตนเอง ประเด็นทีconsult ก็คือ จะให้ยาเคสแบบนี้อย่างไร และจะมีplan of management อย่างไร? 

**กรณีเคสแบบนี้เป็นภาวะที่เจอได้บ่อยมากๆในรพช.นะครับ เป็นกรณีที่น้องๆหมอ"ต้องเจอแน่ๆ" หากมาทำงานในรพช. ลองมาดูกันนะครับว่า เราจะมีแนวทางในการดูแลเคสนี้อย่างไร....

>>> 6 Steps การดูแลผู้ป่วย Psychosis ที่มีอาการกำเริบ<<<

1. Hospitalization? เป็นประเด็นแรกที่ต้องพิจารณา โดยทั่วไปถ้าเป็นเคสที่มีความเสี่ยงก้าวร้าวรุนแรงทั้งต่อตนเอง/ผู้อื่น หรือมีปัญหาที่ซับซ้อนร่วมด้วย เช่น สารเสพติด/ปัญหาครอบครัว/ปัญหาโรคทางฝ่ายกายหรือเป็นเคสคดี การAdmitน่าจะเกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วย/คนรอบข้างมากที่สุด ซึ่ง ณ ปัจจุบัน ในบริบทของรพช.มีหลายๆที่ๆามารถดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีปัญหาอาการทางจิตกำเริบได้แบบ IPD ซึ่งหากพิจารณาแล้วเห็นว่าอาจเกินศักยภาพของรพ./ทีม การReferเคสมาที่รพ.จิตเวชก็เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดครับ

2. ให้ยาเพื่อลดความก้าวร้าว? หลักๆก็จะเป็น Haloperidolแบบฉีด i.m. หรืออาจจะเป็น Diazepam แบบฉีด i.v. (อ่านเพิ่มเติม : GP Survival GuideVol.2 ยาฉีดสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตรุนแรงก้าวร้าววุ่นวาย Link:http://tinyurl.com/lsdhrcu

3. มีปัญหาไม่ร่วมมือกินยา? ให้เปลี่ยนไปใช้ยาAntipsychoticฉีด แบบ Long Acting เช่น Fluphenazine Dec. หรือ Haloperidol dec. ฉีด 1 amp i.m. ทุก 2-4 สัปดาห์

4. ให้ยาแบบกิน
* ให้ยาป้องกัน/ลดSide Effect ในกลุ่ม EPS ได้แก่ Artane
* ให้ Antipsychotic แบบกิน เช่น Haloperidol/Perphenazine/Risperidone
* ให้ยาช่วยเรื่องการนอนหลับ เช่น Chlorpromazine/Diazepam/Lorazepam 

5. นัดFollow Up ให้คำแนะนำและให้ความมั่นใจแก่ญาติ/ผู้ดูแล ว่าอาการต่างๆจะค่อยๆดีขึ้น/ผู้ป่วยจะหลับพักผ่อนได้/อาการหวาดระแวงจะค่อยๆดีขึ้นและนัดFollow Up เร็วหน่อยประมาณ 1-3 สัปดาห์ พร้อมทั้งให้ช่องทางเพิ่มเติมว่าหากเกิดความก้าวร้าวรุนแรง/หวาดระแวงชนิดที่ทำให้เกิดความเสียหาย/มีเหตุทำร้ายตนเองรุนแรงให้ญาติสามารถพามาพบแพทย์ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ถึงวันนัด

6. หากเกิดภาวะยุ่งยากซับซ้อนเกินศักยภาพ สามารถโทรconsultหรือReferเคสมาพบ จิตแพทย์ได้ครับ 

***หลักการทาง 6 ข้อนี้เป็นแนวทางเบื้องต้นนะครับ ในส่วนรายละเอียดแต่ละข้อจะมีส่วนที่ลึกลงไปอีก โปรดติดตามในตอนต่อๆไปครับ
.
.
.
.
By...คลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา