• phone

    Call Center

    091-3853234

  • email

    E-mail

    socials

บุคลิกภาพผิดปกติชนิดบอร์เดอร์ไลน์ (Borderline Personality Disorder)

บุคลิกภาพผิดปกติชนิดบอร์เดอร์ไลน์ (Borderline Personality Disorder)

[บุคลิกภาพผิดปกติ หมายถึง ลักษณะรูปแบบพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกอย่างไม่เหมาะสมเบี่ยงเบนไปจากความคาดหวังของสังคม มีรูปแบบคงที่และไม่ยืดหยุ่นในหลายสถานการณ์ โดยมักปรากฏอาการในช่วงวัยรุ่น-วัยผู้ใหญ่ตอนต้น ที่สำคัญคือจะต้องส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงานการดำเนินชีวิต จึงจะเรียกได้ว่าเป็นความผิดปกติของบุคลิกภาพ] 

บุคลิกภาพผิดปกติชนิดBorderline จัดอยู่ในกลุ่ม Cluster B พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย มีลักษณะเด่น คือ มีความไม่มั่นคงทั้งในส่วนของตัวตน อารมณ์ ภาพลักษณ์ต่อตนเอง และความสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมทั้งไม่สามารถควบคุมตนเองได้อย่างมาก รูปแบบดังกล่าวเป็นไปแทบทุกเรื่อง โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้ตั้งแต่ 5 ข้อขึ้นไป

(1) กลัวการถูกทิ้ง พยายามทุกวิถีทางที่จะไม่ถูกทิ้ง 
(2) เดี๋ยวรักเดี๋ยวเกลียด ความสัมพันธ์กับผู้อื่นไม่มั่นคงสับเปลี่ยนไปมาระหว่างการยกย่องเทิดทูน กับ ด่าว่าไม่เห็นคุณค่า
(3) สับสนในตัวเอง มีภาพลักษณ์ของตนเองไม่คงที่อย่างมาก “เวลาดีๆใจหาย เวลาร้ายก็ร้ายสุดๆ”
(4) วู่วาม ควบคุมตนเองไม่ได้อย่างมาก เกิดขึ้นในอย่างน้อย 2 สถานภาพจนก่อให้เกิดผลเสีย (เช่น ใช้เงินไม่ยั้ง ขับรถอย่างบ้าระห่ำ กินไม่หยุด เรื่องทางเพศ ใช้สารเสพติด ) 
(5) ฆ่าตัวตาย/ทำร้ายตนเองอยู่เรื่อยๆ
(6) อารมณ์แปรปรวนง่าย เปลี่ยนไปตามสิ่งแวดล้อมอย่างมาก (เช่น ไม่สบายใจ หงุดหงิด วิตกกังวล มักเป็นไม่กี่ชั่วโมง)
(7) รู้สึกว่าตนเอง "ว่างเปล่า" อยู่ตลอด
(8) เมื่อโกรธจะไม่สามารถควบคุมได้ (เช่น อาละวาด ฉุนเฉียว มีเรื่องชกต่อยอยู่เรื่อยๆ)
(9) สูญเสียความทรงจำ ขาดสติ หรือมีความคิดหวาดระแวงเกิดขึ้นชั่วขณะ 

>>>อะไรที่สร้างปัญหา?
- อารมณ์แปรปรวนง่าย พฤติกรรมคาดเดาได้ยาก หุนหันพลันแล่น ส่งผลกระทบทั้งต่อตนเองหรือผู้อื่น
- เสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การทำร้ายตนเอง พฤติกรรมวู่วามหุนหันพลันแล่น ใช้จ่ายไม่ยั้ง สารเสพติด หรือปัญหาทางเพศ
- มีความรักแบบไม่สมดุล เช่น พึ่งพิงอย่างมากแต่ก็โกรธเกรี้ยวเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ เดี๋ยวรักเดี๋ยวเกลียด
- มีอาการทางจิตช่วงสั้นๆเกิดขึ้นได้เป็นพักๆ เช่น หวาดระแวง ไม่ไว้วางใจ
- ความว่างเปล่าภายในใจและตัวตน มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า

>>>การรักษา
- จิตบำบัด เพื่อฝึกควบคุมและจัดการความวู่วาม ลดความไวทางอารมณ์ต่อการถูกวิพากษ์วิจารณ์หรือการไม่ยอมรับ เพิ่มรูปแบบในการตอบสนองเมื่อพบกับความเครียดและรูปแบบทางสังคมแบบต่างๆ
- ยา ให้เพื่อประคับประคองอาการที่เกิดขึ้น เช่น วิตกกังวล อาการทางจิต อารมณ์ซึมเศร้า ความก้าวร้าวหุนหันพลันแล่น
.
.
.
.
By...คลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา