• phone

    Call Center

    091-3853234

  • email

    E-mail

    socials

"โรคซึมเศร้า" ความเจ็บที่ไม่มีเสียง Ver.2

"โรคซึมเศร้า" ความเจ็บที่ไม่มีเสียง Ver.2

>>โรคซึมเศร้า(Major Depressive Disorder : MDD) เป็นโรคที่เริ่มเป็นที่คุ้นหูกันมากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน มีการประมาณการกันว่าในคนไทย 100 คนจะมีคนที่ไม่สบายด้วยโรคซึมเศร้าอยู่ 2-3 คน โรคซึมเศร้าเป็นสาเหตุสำคัญของการฆ่าตัวตาย นั่นเพราะโรคซึมเศร้าทำให้เกิดความรู้สึกสิ้นหวัง หมดหนทาง เกิดความรู้สึกด้านลบ ความรู้สึกผิด และลงเอยด้วยการทำร้ายตนเองในที่สุด
.
.
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?

>> ให้สังเกตจากสัญญาณบอกเหตุทั้ง 9 ข้อ ต่อไปนี้ 

1.รู้สึกเศร้าใจ หม่นหมอง หงุดหงิด หรือไม่สบายใจ

2.ขาดความสนใจต่อสิ่งที่เคยทำให้มีความสุข หรือสิ่งแวดล้อมรอบข้าง

3.น้ำหนักลดลง หรือเพิ่มขึ้น เบื่ออาหารหรือกินจุ

4.นอนไม่หลับ หรือหลับมากกว่าปกติ

5.รู้สึกผิด สิ้นหวัง หรือรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า

6.ไม่มีสมาธิ หลงลืมง่าย ไม่สามารถตัดสินใจเองได้ 

7.อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง

8. เชื่องช้า หรือกระสับกระส่าย อยู่ไม่สุข

9.คิดถึงแต่ความตาย หรือคิดฆ่าตัวตาย พยายามฆ่าตัวตายหรือมีการวางแผน

**จะต้องมีความผิดปกติอย่างน้อย 5 ข้อจากทั้งหมด 9 ข้อ อาการต่างๆต้องเกิดขึ้นเกือบตลอดเวลา เป็นต่อเนื่องแทบทุกวัน นานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และทำให้เสียหน้าที่การงานหรือการเข้าสังคม**
.
.
.
::::::::::คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า::::::::::

โรคซึมเศร้ามีความรุนแรง 3 ระดับ คือ 
* โรคซึมเศร้าระดับเล็กน้อย (Mild MDD)
* โรคซึมเศร้าระดับปานกลาง (Moderate MDD)
* โรคซึมเศร้าระดับรุนแรง (Severe MDD)
.
.
.
ทำอย่างไรเมื่อสงสัย/รู้ว่าตนเองเป็นโรคซึมเศร้า?
>> เมื่อสงสัยว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดเป็นโรคซึมเศร้า การไปพบแพทย์หรือจิตแพทย์ถือเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ประโยชน์ที่จะได้จากการไปพบแพทย์ ได้แก่...
1. ได้รับการตรวจเพื่อวินิจฉัยตามเกณฑ์ทางการแพทย์
2. ได้รับการตรวจเพื่อค้นหาโรคต่างๆที่อาจเป็นสาเหตุ 
3. ได้รับการตรวจประเมินความรุนแรงของโรค 
4. ได้รับการตรวจประเมินความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย 
5. ได้รับการบำบัดรักษาที่เป็นองค์รวม ทั้งการกินยา การทำจิตบำบัด การให้คำแนะนำ และ การจัดการปัญหาที่เป็นสาเหต
.
.
.
จะดูแลสุขภาพจิตตนเองอย่างไรเมื่อรู้ว่ากำลังซึมเศร้า?
1. ควรเลี่ยงจากสถานการณ์ที่มีความตึงเครียดรุนแรง
2. ควรเลี่ยงการอยู่ลำพังเป็นเวลานาน (ควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนาหรือสังคม)
3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
4. หยุดการตำหนิและโทษตัวเอง 
5. รู้จักให้กำลังใจตนเอง 
6. ฝึกคิดบวก ทั้งต่อตนเอง สังคม และผู้อื่น 
7. ตั้งเป้าหมายไม่สูงหรือยากเกินไป 
8. ชะลอการตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆของชีวิตไว้ก่อน เช่น การลาออก เปลี่ยนงาน แต่งงาน หรือหย่า
9. เฝ้าระวังความคิดเกี่ยวกับการทำร้ายตนเอง **ต้องบอกคนใกล้ชิดให้ทราบเสมอเมื่อมีความคิดถึงความตาย/ความไม่อยากมีชีวิตอยู่**

**ความอ่อนแอไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้าต่างหากที่ทำให้จิตใจอ่อนแอ**
.
.
.
.
By...คลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา